วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส

สโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส

     

     สโมสรบางกอกกล๊าสเริ่มต้นในช่วงก่อตั้งโรงงานบางกอกกล๊าส ในปี พ.ศ.2552 โดยเป็นการรวมตัวกันเพื่อแข่งขันเป็นการภายในของพนักงาน และต่อมาจึงได้ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันภายนอก ในช่วงปี พ.ศ.2532 ซึ่งเป็นการแข่งขันกันในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ในเขตจังหวัดปทุมธานีจนเริ่มเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป
     ปี พ.ศ.2542 พนักงานและกลุ่มผู้บริหารได้รวมตัวกันจัดตั้งชมรมฟุตบอลอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นมา และเมื่อชมรมมีความพร้อมในด้านต่างๆ ทั้งด้านอุปกรณ์ และสนาม จีงมีก่อตั้งสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าสขึ้นในเดือน เมษายน พ.ศ. 2549 และเปิดคัดนักกีฬาในเดือนต่อมา โดยได้เข้าเป็นสมาชิกของ สมาคมฟุตบอลปห่งประเทศไทยในปีดังกล่าว
     การแข่งขันอย่างเป็นทางการครั้งแรกของสโมสรคือการเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ประเภท ง.ประจำปี พ.ศ.2550 ซึ่งสโมสรประสบความสำเร็จเมื่อได้ตำแหน่งรองแชมป์ และได้สิทธิเลื่อนชั้นไปเล่นในถ้วย ค.ในปีต่อมา
     ปี พ.ศ. 2551 สโมสรได้จัดตั้งบริษัท BGFC SPORT จำกัดขึ้น เพื่อดำเนินการบริหารสโมสรและให้เป็นไปตามแนวทางที่เอเอฟซีกำหนด นอกจากนี้ทีมบางกอกกล๊าสยังมีทีมฟุตซอลของตัวเอง ซึ่งลงแข่งในฟุตซอลไทยแลนด์ลีกอีกด้วย
     ในช่วงเดือน มกราคม พ.ศ. 2552 สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทยจากศึก ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ได้ประกาศยุบทีม เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เอเอฟซี กำหนดในเรื่องการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ สโมสรบางกอกกล๊าสจึงได้ทำการเทคโอเวอร์ สโมสรธนาคารกรุงไทย โดยจะได้ลงแข่งในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ปี พ.ศ.2552 แทนที่ของสโมสอนฟุตบอลธนาคารกรุงไทย ที่ยุบทีม และได้ย้ายสนามไปเช่าสนามเฉลิมพระเกียรติ คลอง 6 เป็นการชั่วคราวเพื่อปรับปรุงสนามลีโอสสเตเดี่ยม ซึ่งในปีแรกของการแข่งขันของสโมสรฟุตบอลบางกองกล๊าสนั้นทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมด้วยการจบอันดับที่ 3 ในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก2552
     ปี พ.ศ.2553  สโมสรบางกอกกล๊าส ได้รับความนิยมอย่างสูง และได้สร้างสนาม ลีโอสสเตเดียม  เสร็จสมบูรณ์หลังจากที่ทำการปรับปรุงครั้งใหญ่ จนได้กลับมาเล่นในสนามแห่งนี้อีกครั้ง หลังจากที่ปรับปรุงเกือบ 1 ปี ในเดือน มกราคม สโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าสได้ส่งทีมเข้าแข่งขันใน ฟุตบอล ควีนสคัพประสบความสำเร็จสามารถคว้าแชมป์ มาได้สำเร็จด้วบการชนะอินทรีเพื่อนตำรวจ 4-1 และในปีเดียวกันนั้นเอง ได้ส่งทีมเข้าแข่งขันในศึกสิงค์โปรคัพในปีที่สอง ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม คว้าแชมป์ "สิงค์โปรคัพ 2010 ไปอีกรายการ"






สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด


สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด


     สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เดิมชื่อ สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ พีอีเอ เป็นสโมสรที่เปลี่ยนแปลงมาจากสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2513 โดย ดร.วีร ปิตรชาติ มีเป้าหมายเพื่อให้พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ออกกำลังกายและสร้างความสามัคคีร่วมกันในหมู่คณะ
     ต่อมาในปี พ.ศ.2535  สโมสรได้เข้าร่วมการแข่งขันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ประเภท ง. โดยลงเล่น 3 ฤดูกาลก็ได้เลื่อนขึ้นไปเล่นในถ้วย ค. และลงเล่นอยู่ 2 ฤดูกาลก็ได้เลื่อนขึ้นไปเล่นถ้วย ข. และอีก 2 ฤดูกาลสโมสรก็สามารถเลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในดิวิชั่น 1 ได้สำเร็จ
     หลังจากลงเล่นในดิวิชั่น 1 อยู่นานสโมสรก็ได้เลื่อนขึ้นมาเล่นในลีกสูงสุดได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อได้รองแชมป์ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2547 และได้เล่นในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก เป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2548 โดยฤดูกาลแรกในลีกสูงสุดสโมสรสร้างผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม เมื่อได้ตำแหน่งรองแชมป์ และศุภกิจ จินะใจ กองหน้าของทีมก็คว้าตำแหน่งดาวซัลโวร่วมกับศรายุทธ ชัยคำดี กองหน้าของทีมการท่าเรือไทย ที่จำนวน 10 ประตู และยังได้เล่นเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลึก เป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2549 อีกด้วย
     ฤดูกาล 2551 สโมสรสามารถคว้าแชมป์ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ได้เป็นครั้งแรกภายใต้การคุมทีมของประพล พงษ์พาฌิชย์และได้สิทธิเข้าร่วมแข่งขันเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือก ในฤดูกาล 2552
     ฤดูกาล 2552 สโมสรตกรอบคัดเลือกเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก ทำให้ไม่สามารถเข้าไปเล่นในรอบแบ่งกลุ่มได้ และมีผลงานในลีกไม่ดีนัก สโมสรจึงได้เปลี่ยนผู้จัดการทีมในเดือนพฤษภาคม ปี 2552 จากประพล พงษ์พาฌิชย์ เป็น ทองสุข สัมปหังสิต อดีตผู้จัดการทีมชาติไทย ชุดแชมป์ซีเกมส์ ที่นครราชสีมา

การเทคโอเวอร์สโมสร

     การเทคโอเวอร์สโมสร เกิดขึ้นในช่วงฤดูกาล 2552 จากความต้องการของนายเนวิน ชิดชอบ นักการเมืองของจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ต้องการซื้อหุ้นทีมฟุตบอลในไทยพรีเมียร์ลึก ให้ย้ายไปเล่นในนามจังหวัดบุรีรัมย์เป็นการชั่วคราว  ในขณะเดียวกันก็สร้างทีมใหม่อีกหนึ่งทีม ไต่อันดับขึ้นมาจากดิวิชันต่ำสุดในเบื้องต้นได้เจรจากับสโมสรฟุตบอลตำรวจ  แต่ได้รับการปฏิเสธนายเนวินได้มีการเจรจาในเบื้องต้นกับสโมสรฟุตบอลทีโอที และสโมสรฟุตบอลทหารบก แต่ตกลงกันไม่ได้ ในที่สุดจึงได้มีการซื้อขายหุ้นของสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งมีผลงานสิ้นสุดฤดูกาลในอันดับที่ 9 ทางสโมสรได้ตกลงที่จะย้ายสนามแข่งจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์  ท่ามกลางการต่อต้านจากแฟนฟุตบอลชาวอยุธยาที่รวมตัวกันเผาเสื้อทีมการไฟฟ้าฯ และพนักงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พร้อมสาปแช่งคุณเนวิน ชิดชอบ หลังจากนั้นทางสโมสรได้เปลี่ยนแปลงชื่อทีมเป็น บุรีรัมย์-พีอีเอ พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทีมผู้บริหารทั้งหมด และทีมผู้ฝึกสอนบางส่วน

ฤดูกาล 2553 - 2554

     การเข้ามาของกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหม่ ส่งผลให้มีการปรับปรุงและพัฒนาทีมอย่างมาก มีการนำระบบบริหารจัดการสโมสรฟุตบอลอาชีพเข้ามาใช้กับบริษัท เช่น การทำสัญญาจ้างนักฟุตบอล การเจรจา และทำสัญญาซื้อขายนักฟุตบอลด้วยสัญญามาตรฐาน การสร้างสนามฟุตบอลแห่งใหม่ตามมาตรฐานของบริษัทไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด เพื่อใช้เป็นสนามเหย้า การจัดทำระบบบัญชี การเงิน กฎหมาย การตลาด การโฆษณา และการประชาสัมพันธ์ เต็มรูปแบบ เพื่อสร้างความนิยมให้แก่ทีมบุรีรัมย์ พีอีเอ และ ความน่าเชื่อถือแก่บริษัท
ผลจากการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการธุรกิจ และพัฒนาทีมอย่างจริงจัง ภายใต้นโยบายของนายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรคนใหม่ ส่งผลให้บุรีรัมย์ พีอีเอ เป็นทีมที่ได้รับความนิยมสูงสุดในไทยพรีเมียร์ลีกอย่างรวดเร็ว มีผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก หรือแฟนคลับ มากถึง 65,000 คน มีผู้เข้าชมเกมการแข่งขัน นัดละไม่น้อยกว่า 10,000 คน เมื่อเป็นเจ้าบ้าน และเมื่อเป็นทีมเยือน จะมีแฟนบอลติดตามไปชมไม่น้อยกว่า 1,500 คน อีกทั้งยังเป็นทีมที่สร้างสถิติผู้เข้าชมสูงสุดของไทยพรีเมียร์ลีก คือ 25,000 คน และ สร้างสถิติจำหน่ายของที่ระลึกได้สูงสุด 1,400,000 บาท ภายในวันเดียว คือนัดที่เตะกับเมืองทองยูไนเต็ด เมื่อวันที่ กันยายน 2553
ในฤดูกาล 2554 ทีมบุรีรัมย์-พีอีเอได้เป็นแชมเปียนไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก หลังจากเอาชนะ ทีมสโมสรฟุตบอลทหารบก ที่สนามกีฬากองทัพบก เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2554 ได้คะแนน 75 คะแนน ทิ้งห่างอันดับสอง ทั้งที่ยังมีการแข่งขันเหลืออีก 4 นัดโดยมีพิธีมอบถ้วยรางวัลหลังการแข่งขันนัดสุดท้ายของฤดูกาล
และยังได้ทริปเปิลแชมป์ หรือ 3 แชมป์ ในฤดูกาลเดียวกัน เมื่อเอาชนะทีมการท่าเรือไทย เอฟซี ไปได้ 2-0 ที่สนามศุภชลาศัย ได้แชมป์โตโยต้า ลีกคัพหลังจากการได้แชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก และไทยคม เอฟเอคัพไปแล้วโดยถือว่าเป็นทีมฟุตบอลทีมแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทยที่ทำได้
และยังได้แชมป์ที่ 4 ด้วยการเอาชนะ ทีมเวกัลตะ เซนได จากเจลีกด้วยลูกจุดโทษ ในรายการโตโยต้า พรีเมียร์คัพ ไปได้ 5-3 หลังในเวลาเสมอกัน 1-1






วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สโมสรฟุตบอลชลบุรี


สโมสรฟุตบอลชลบุรี

     
     สโมสรฟุตบอลชลบุรีหรือ ชลบุรี เอฟซี เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทยเป็นทีมจากจังหวัดชลบุรี ได้เข้ามาร่วมเล่นในไทยลีก โดยย้ายจากโปรลีก เคยได้ตำแหน่งชนะเลิศในปี 2550 รองชนะเลิศในปี 2551, 2552, 2554, 2555 ปัจจุบันใช้สนามชลบุรีสเตเดียม เป็นสนามเหย้าแทน สถาบันการพละศึกษา วิทยาเขตชลบุรี

สโมสรฟุตบอลจังหวัดตราด


สโมสรฟุตบอลจังหวัดตราด

ตราดเอฟซี
     สโมสรฟุตบอลจังหวัดตราด หรือ ตราด เอฟซี ได้ก็ตั้งขึ้นในปี2555จากการคิดริเริ่มของชมรมกีฬาฟุตบอลตราดเพื่อส่งเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลเอไอเอสลีดภูมิภาค ดิวิชั่น2 ปี2555 โดยได้เชิญ ท่านนายกองค์การบิหารส่วนจังหวัดตราดนายวิเชียร ทรัพย์เจริญเป็นที่ปรึกษาของสโมสร เนื่องจากในอดีตท่านเคยได้สรางประวัติศาสตร์ให้กับวงการฟุตบอลจังหวัดตราด กระทั่งทีมตราดในสมัยนั่นได้รับฉายาว่าสิงห์ร้ายตะวันอกในปี พ.ศ. 2555 ปีแรกของการส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลเอไอเอสลีกภูมิภาคดิวิชั่น2 ในชื่อ สโมสรฟุตบอล ตราดเอฟซีฉายาว่าช้างขาวจ้าวเกาะ สโมสรตราด เอฟซี ได้เข้าไปเล่นในรอบแชมป์เปี้ยนลีกและได้รองแชมป์ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น2 ฤดูกาล 2012ต่อมาในปี 2556 ด้วยความมุ่งมั่นของผู้บริหารและพลังศรัทธาของแฟนบอลพี่น้องชาวตราด ทำให้ ช้างขาวเจ้าเกาะ เลื่อนชั้นขึ้นสู่ฟุตบอลยามมาฮ่าลีกวัน ดิวิชั่น1 ได้ภายในระยะเวลา1ปี ตราดเอฟซีเป็นทีมน้องใหม่ของดิวิชั่น1 ที่มีผลงานดีที่สุดของดิวิชั่น2 ที่ขึ้นมาพร้อมกัน









สโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด


สโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด

     ผู้ก่อตั้งสโมสรฟุตบอลเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด คือ วรวีร์  มะกูดี  ซึ่งปัจจุบันเป็นนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  ภายหลังก่อตั้งทีมโรงเรียนศาสนวิทยา หรือสโมสรฟุตบอลบีอีซี เทโรศาสนปัจจุบัน 3 ปี ชื่อแรกที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสมาคมฟุตบอลเป็นชื่อทีมโรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์ เริ่มไต่เต้าจากถ้วยเล็กสุดอย่างถ้วยพระราชทานประเภท ง กระทั่งในการแข่งขันฟุตบอลลีกดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2545-2546 ทีม ร.ร.หนองจอกพิทยานุสรณ์ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นหนแรกเป็น สโมสรฟุตบอลไข่มุกดำหนองจอก  โดยได้วีระ  มุสิกพงศ์  อดีตนักการเมือง เข้ามาทำทีม แต่แค่ฤดูกาลเดียวเมื่อไม่ประสบความสำเร็จวีระ ก็เลิกลาไปโดยที่ทีมยังคงอยู่ในลีกดิวิชัน 1 ต่อไป


วรวีร์  มะกูดี


เข้าสู่ระบบลีก

ฤดูกาลต่อมาของลีกดิวิชัน 1 2546 - 2547 ทีมเปลี่ยนชื่ออีกครั้งตามกลุ่มที่เข้ารับทำทีมต่อคือ สโมสรฟุตบอลหลักทรัพย์โกล์เบล็ค หนองจอก โดยมีสมศักดิ์ เซ็นเชาวนิช เป็นผู้จัดการทีม แต่ปีนั้นทีมทำผลงานได้ย่ำแย่ จนสุดท้ายก็ต้องตกชั้นไปเล่นในถ้วยพระราชทานประเภท ข ในฤดูกาล 2547-2548 โดยกลับไปใช้ชื่อเดิม ร.ร.หนองจอกพิทยานุสรณ์ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
ต่อมา สมาคมฟุตบอลฯ ต้องการยกระดับลีกการแข่งขันในประเทศของไทย ให้เป็นสากลมากขึ้นจึงก่อตั้งลีกดิวิชัน 2 ขึ้นมาโดยนำทีมจากถ้วยพระราชทาน ข และ ค มาผสมรวมกันเพื่อแข่งขันในลีกนี้ในฤดูกาล 2549 - 2550 ซึ่ง ร.ร.หนองจอกพิทยานุสรณ์ได้สิทธิ์เข้าแข่งขันด้วย และปีนั้นกับลีกดิวิชัน 2 ของไทยครั้งแรกชื่อทีมเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด โดยผู้สนับสนุนทีมคือ ระวิ  โหลทอง ที่รับตำแหน่งประธานสโมสรขับไม่เป็น

ยุคเริ่มต้นความสำเร็จ

     เริ่มต้นที่ปี พ.ศ.2550ปีนั้นทีมใช้ผู้จัดการทีมอย่าง นนทพร เอกศาสตรา คุมทีม โดยมี โรเบิร์ต โปรคูเรอร์เป็นผู้จัดการทีม ปีนั้นเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ดได้แชมป์ลีกดิวิชัน 2 ครั้งแรกพร้อมได้สิทธิ์ขึ้นไปเล่นลีกดิวิชัน 1 ในปี พ.ศ. 2551 ในปีต่อมา ผู้จัดการทีมอย่างสุรศักดิ์ ตังสุรัตน์ สามารถพาทีมคว้าแชมป์ลีกดิวิชัน 1 ประจำปี 2551 มาครอบครองได้สำเร็จ พร้อมขึ้นชั้นมาเล่นไทยพรีเมียร์ลีก 2552(ไทยลีก ครั้งที่ 13)
ไทยพรีเมียร์ลีก 2552 อันเป็นครั้งแรกของทีมเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด ที่ได้ขึ้นมาเล่นลีกสูงสุดของประเทศ นับจากก่อตั้งสโมสรมา 20 ปีนั้น ปีนั้น เมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ดสร้างประวัติศาสตร์เป็นทีมแรกที่สามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลลีกของไทยไล่จากลีกดิวิชัน 2, ดิวิชัน 1 จนถึงลีกสูงสุดโดยใช้เวลาเพียง 3 ปี

ฤดูกาล 2553

     สโมสรฟุตบอลเมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ด ที่ได้แชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก 2552 ในฤดูกาลก่อนได้ลงป้องกันแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก โดยตลอดทั้งฤดูกาลก็ทำผลงานได้ดีจนได้แชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก 2553 เป็นสมัยที่สองติดต่อกัน ซึ่งการได้ 2 สมัยนั้นทำให้มีสถิติเทียบเท่าบีอีซี เทโรศาสน ธนาคารกรุงไทยและทหารอากาศ(หรือแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด ในปัจจุบัน) ส่วนก่อนฤดูกาลแข่งขันนั้นก็ได้แชมป์ ถ้วยพระราชทานประเภท ก ที่สามารถชนะการท่าเรือไทย ได้ 2-0 ส่วนถ้วยอื่น ๆ อย่างเอเอฟซีคัพ และไทยคม เอฟเอคัพได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ

ฤดูกาล 2554

     สโมสรฟุตบอลเมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ดได้ลงป้องกันแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีกติดต่อกันเป็นปีที่ 3 ครั้งนี้ทีมพยายามอย่างเต็มที่เพื่อจะได้เป็นแชมป์ 3 สมัยติดต่อกัน แต่ด้วยการไปเล่นเอเอฟซีคัพ ทำให้มีการเหนื่อยล้าของนักเตะรวมถึงการเปลี่ยนผู้จัดการทีมใหม่จากเรเนอ เดอซาเยร์มาเป็นการ์ลูส โรเบย์ตู จี การ์วัลยูและเฮนริเก คาลิสโต ในช่วงเลก 2 ของฤดูกาลมีการเซ็นสัญญาซื้อร็อบบี ฟาวเลอร์เข้าร่วมทีม ต่อมาในเดือนกันยายน คาลิสโต ที่พาทีมตกรอบเอเอฟซีคัพ ถูกทางสโมสรปลดออก และร็อบบี ฟาวเลอร์ ตำแหน่งเพลยเออร์-เมเนเจอร์ (เป็นทั้งผู้จัดการทีมและผู้เล่น) โดยทำการคุมทีมนัดแรกในนัดที่พบกับเอสซีจี สมุทรสงครามหลังจากนั้นอีกไม่นาน เมื่อเมืองทอง ยูไนเต็ด ได้เพียงอันดับ 3 ในฤดูกาลนี้ ทำให้ฟาวเลอร์ ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง

ฤดูกาล 2555

     ปูนซีเมนต์ไทยเอสซีจี) ได้เซ็นสัญญาเพื่อมาเป็นผู้สนับสนุนของทีม โดยมีมูลค่าสัญญามากถึง 600 ล้านบาท และได้ทำการเปลี่ยนชื่อสนาม จาก "ยามาฮ่า สเตเดียม" มาเป็น "เอสซีจี สเตเดียม" และชื่อทีมจาก "เมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ด" มาเป็น "เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด" ส่วนโลโก้ของสโมสรก็มีการเปลี่ยนให้ตัวกิเลนทั้ง 2 ตัว มีขาชิดกันมากขึ้นกว่าเดิมรวมถึงการเซ็นสัญญาผู้จัดการทีมคนใหม่